วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เกร็ดความรู้เรื่อง ' ลำโพง '


' ลำโพง '



ตัวอย่างลำโพงคอมพิวเตอร์ น่ารัก ๆ






ลำโพงคอมพิวเตอร์ หรือ ลำโพงมัลติมีเดีย เป็นลำโพงภายนอก ที่ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยผ่านช่องเสียบซึ่งต่อจากการ์ดเสียงภายในเครื่อง โดยอาจต่อเข้ากับแจ็คสเตอริโอธรรมดา หรือขั้วต่ออาร์ซีเอ (RCA connector) และยังมีจุดเชื่อมต่อยูเอสบี สำหรับใช้ในปัจจุบัน โดยมีแรงดันไฟจ่าย 5 โวลต์ ลำโพงคอมพิวเตอร์มักจะมีขุดขยายเสียงขนาดเล็ก และชุดแหล่งจ่ายไฟต่างหาก

ปัจจุบันลำโพงสำหรับคอมพิวเตอร์มีด้วยกันหลากหลายรูปแบบ ขนาด และราคา ปกติจะมีขนาดเล็ก ให้มาพร้อมกับคอมพิวเตอร์ แต่ก็มีการผลิตลำโพงคอมพิวเตอร์ที่ซับซ้อน สามารถปรับแต่งเสียงทุ้มแหลม หรือคุณลักษณะอื่นๆ ได้

ลักษณะทั่วไปลำโพงคอมพิวเตอร์แต่ละยี่ห้อแต่ละรุ่นมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป แต่ปกติแล้วจะมีคุณสมบัติต่อไปนี้เป็นมาตรฐานไฟLED บอกสถานะการเปิดเครื่อง แจ็คเสียบหูฟัง ขนาด 1/8" หรือ 1/4" ไว้สำหรับเสียบหูฟังหรือนำไปต่อเครื่องขยายอีกทีหนึ่ง ปุ่มปรับความดัง ทุ้ม แหลม (ลำโพงขนาดเล็กอาจไม่มี) รีโมทคอนโทรลแบบมีสาย หรือไร้สาย สำหรับปรับโวลลุ่ม หรือเปิดปิดลำโพง


แนะนำลำโพงต่าง ๆ

Gigaworks ProGamer G500 เป็นลำโพงที่ถูกออกแบบสำหรับการเล่นเกมส์และได้รับการรับรองโดย THX Certified 5.1 และมีพลังเสียง 310 Watts RMS ด้วยประสิทธิภาพของตัวซัพวูเฟอร์ที่มีพลังเสียงเหนือคู่แข่ง โดยมีความใหญ่ถึง 8 นิ้วทางด้านหน้าของตัววูเฟอร์ รวมถึงยังมีเสียงเบสที่แน่นและมีช่องเสียบเพื่อง่ายสำหรับการติดต่อกับเครื่องเล่น MP3

ราคา 11,900 บาท


ระบบลำโพงที่โดดเด่น ที่ให้คุณเพลิดเพลินกับความบันเทิงได้อย่างน่าประหลาดใจ เอกลักษณ์ ใน รูปร่างที่มีสไตล์ของ I-Trigue 3220 และการนำส่งคลื่นเสียงครอบคลุมเสียงกลางที่เหนือกว่า (Mid Range) ด้วย BasXPort™ technology ผสมผสานกันอย่างกลมกลืนกับเสียงต่ำที่ลึกซึ้ง และเสียงสูงที่ใสและบริสุทธิ์ ได้อย่างลงตัว พร้อมจะนำประสบการณ์ ของ เสียง และความมีสไตล์ ราคา 2,690 บาท


Creative I-Trigue 200 ให้เสียงที่มีคุณภาพสูงด้วยลำโพงแบบ 2.0 และดอกลำโพงแบบ NeoTitanium ให้เสียงที่เคลียร์ , เสียงกลางและเบสที่แน่น I-Trigue 200 มาพร้อมกับหน้ากากที่สามารถเปลี่ยนได้ตามใจคุณ ปุ่มในการปรับเสียงมีขนาดใหญ่ , ปุ่มเปิดปิด ใช้งานได้สะดวก มึช่องสำหรับเสียบหูฟังสำหรับการฟังเพลงที่เป็นส่วนตัว


ดอกลำโพงแบบ NeoTitanium ให้เสียงที่มีความเที่ยงตรงสูง , สมดุลย์และเป็นธรรมชาติ

มีสีให้เลือกหลายสี เช่น สีดำและสีเขียว ในส่วนสีชมพูและสีฟ้า จะออกมาเร็ว ๆ นี้

มีพอร์ทสำหรับเสียบหูฟังเพื่อการฟังเพลงที่เป็นส่วนตัว เพิ่มประสิทธิภาพให้กับลำโพงของคุณและเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเล่น MP3 หรือเครื่อง Laptops



การทำงานของลำโพง

















เสียงเป็นคลื่นตามยาว เสียงแหลมและทุ้มขึ้นกับความถี่ ส่วนสียงดังหรือค่อยขึ้นอยู่กับขนาดแอมพลิจูดของคลื่นนั้น เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า ไมโครโฟนมีหน้าที่แปลงสัญญาณเสียงให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า และนำสัญญาณที่ได้ไปบันทึกลงบนเทปคาสเซ็ท แผ่น CD หรือเครื่องเล่น MP3 ซึ่งกำลังฮิตกันอยู่ในปัจจุบัน เมื่อเราต้องการจะนำเสียงที่บันทึกกลับออกมา ภายในเครื่องเล่นเหล่านี้จะมีหัวอ่านคอยอ่านสัญญาณทางไฟฟ้าที่บันทึกอยู่ในเนื้อเทป ซึ่งในขณะที่อ่านยังเป็นสัญญาณที่อ่อนมาก จึงต้องนำเข้าเครื่องขยายสัญญาณก่อน เมื่อได้สัญญาณที่แรงพอแล้วจึงขับออกทางลำโพง กลายเป็นเสียงออกมา

ส่วนสำคัญที่สุดของเครื่องเล่นเหล่านี้ก็คือลำโพง โดยหน้าที่สำคัญสุดของลำโพงคือ เปลี่ยนสัญญาณทางไฟฟ้าที่ได้มาจากเครื่องขยายเป็นสัญญาณเสียง ลำโพงที่ดีจะต้องสร้างเสียงให้เหมือนกับต้นฉบับเดิมมากที่สุด โดยมีการผิดเพี้ยนน้อยที่สุด


ในการใช้งานไม่ใช่ระบบเสียงไฮฟายคำว่า “ลำโพง”โดยปกติจะหมายถึงว่าเป็นอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งซึ่งทำ ให้เกิดเสียงขึ้นมาเป็นอุปกรณ์ตัวเดียวในระบบไฮฟายท์ที่มองเห็นรูปร่างของมันได้ชัดเจน แต่ในระบบไฮฟายลำโพงของระบบไฮฟายมักจะมีหน่วยไดรฟ์ 2 หน่วยหรือ มากกว่าเป็นหน่วยไดรฟ์มีขนาดและชนิดแตกต่างกันซึ่งจะมักเรียกว่าระบบลำโพง แต่หน่วยไดรฟ์ ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นของระบบไฮฟายหรือไม่ก็ตามีหลักการทำงานอย่างเดียวกันหมดคือใช้หลักการใช้ขดลวดเคลื่อน ที่หรือเรียกเป็นภาษาเทคนิคว่าใช้มูฟวิ่งคอยล์ (Moving Coil) ในการทำให้อากาศสั่นตัวเพื่อให้เกิดเป็นคลื่น เสียงนั้นตัวกรวยของลำโพงจะต้องเคลื่อนที่ไปข้างหน้าและ ข้างหลังได้อย่างอิสระด้วยเหตุนี้จึงต้องตั้งกรวยของลำโพงไว้ในบริเวณสภาพแวดล้อมที่มีความยืดหยุ่นสูง ตรงปลายกรวยของลำโพงมีรูปทรงกลมขนาดเล็กติดอยู่เรียกว่า “วอยซ์คอยล์” (Voice Coil) ปลาย ทั้งสองข้างของวอยซ์คอยล์ต่อเข้ากับอินพุทของระบบลำโพง รอบ ๆ วอยส์คอยล์มีแม่เหล็ก ถาวรตั้งอยู่ ล้อมรอบ
การจัดไว้เช่นนั้นจนเมื่อทำการทดสอบกรวยวอยซ์คอยล์แล้ว วอยซ์คอยล์จะวางตัวอยู่ ในบริเวณสนามแม่เหล็กซึ่งมีความเข้มมาก ถ้าหากมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านคอยล์มันจะเคลื่อนตัวไปข้างหน้า หรือข้างหลังในช่วงระหว่างขั้วแม่เหล็ก สัญญาณออดิโอซึ่งประกอบด้วยกระแสสลับหรือกระแสเปลี่ยนทิศทางด้วยความถี่ตรงกับเสียงดนตรีดังนั้น จึงทำให้กรวยของลำโพงเคลื่อนที่ ซึ่งเป็นการทำให้เกิดคลื่นเสียง หน่วยไดรฟ์ของลำโพงความจริง มีรูปแบบเช่นเดียวกับมอเตอร์ไฟฟ้าแบบง่ายๆ เท่านั้นเอง หน่วยไดรฟ์ขนาดเล็กและมีราคาถูกๆ สามารถสร้างขึ้นมาให้เสียงได้ดี ให้เสียงฟัง ได้ยินอย่างชัดเจน ให้เสียงแบคกราวด์ของเสียงดนตรีในเครื่องรับโทรทัศน์หรือเสียงดนตรีในรถยนต์ แต่เมื่อนำหน่วยไดรฟ์เช่นนี้มาใช้ทำให้เกิดเสียงดนตรีที่มีความเพี้ยนน้อยที่สุดก็จำเป็นต้อง มีบางสิ่ง บางอย่างที่มีความละเอียดลออมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ก็เพราะหน่วยไดรฟ์หน่วยเล็กๆ จะไม่มีการตอบสนอง ต่อความถี่ต่ำสุดและความถี่สูงสุดอย่างที่มีอยู่ในเสียงดนตรี แต่เมื่อมองดูตลอดย่านความถี่เสียงจริงๆ จะพบว่าเสียงต่ำสุดที่เกิด



จากเสียง เบสกีตาร์เป็นเสียงต่ำกว่า 50 Hz ในขณะเดียวกันเสียงสูงสุดของเปียโนเป็นความถี่ ประมาณ 4 kHz ที่เหนือความถี่นี้ไปเป็นความถี่ฮาร์โมนิค ซึ่งทำให้เครื่องดนตรีชิ้นต่างๆ ให้เสียงแตกต่างกันไป ดังนั้นส่วนสำคัญของย่านความถี่จึงอยู่ระหว่าง 40 Hz ถึง 15 kHz ทั้งนี้ก็เพราะเสียงที่บันทึก ได้ส่วน มากจะมีย่านความถี่ในย่านนี้ การส่งกระจายเสียงโดยวิทยุ FM ก็เช่นกันจะให้ผ่านการตอบสนอง ความถี่สูงสุดประมาณ 15 kHz ทั้งนี้ก็เพราะระบบเสียงที่ใช้ในขณะที่เครื่องเล่นเทปคานเซทเด็ค (Cassett Deck) โดยทั่วๆ ไปมักจะไม่ให้การตอบสนองเรียบสูงเกินไปกว่านี้ แต่ระบบบันทึกเสียงดิจิตอล สามารถให้การตอบสนองสูงถึง 20 kHz และต่ำลงมาถึง 20 Hz แต่ที่ความถี่ต่ำๆ เช่นนั้นเอาท์พุท จากลำโพงจะได้รับผลกระทบเพราะแฟคเตอร์อื่นๆ อีก อย่าง เช่น เรื่องขนาดของห้องฟังเป็นต้น


*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*
ที่มาข้อมูล